สถิติ
เปิดเมื่อ20/09/2016
อัพเดท21/09/2016
ผู้เข้าชม2732
แสดงหน้า3093
เมนู
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




การนำมาประยุคใช้ในชีวิตประจำวัน (เข้าชม 148 ครั้ง)

~~ผักชีกับตำรับอาหารไทย
ผักชีต่างๆ ที่กล่าวมาทั้ง 4 ชนิด เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน คนไทยนำไปใช้เป็นผักและใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหารมากมาย โดยใช้ทั้งส่วนใบ ราก และเมล็ด ตัวอย่างเช่น
⇒ ผักชีล้อม ใช้เป็นผักอย่างหนึ่ง ส่วนที่ใช้คือใบและยอดอ่อน
⇒ ผักชีลาว ใช้เป็นผักเช่นเดียวกัน รวมทั้งใช้เป็นเครื่องแต่งกลิ่นอาหารบางตำรับด้วย ส่วนใหญ่เป็นอาหารอีสานรสแซ่บ เช่น อ่อมปลาดุก อ่อมน้องวัว ไก่นานึ่ง เป็นต้น
⇒ ผักชีฝรั่ง ใช้แต่งกลิ่นอาหารเป็นหลัก เช่น กุ้งฝอยเต้น ยำหนังหมู ซุปหน่อไม้ ซุปขนุน ต้มไก่มะพร้าวเผา ต้มแซบ ต้มยำไข่ปลาสลิด ซกเล็ก ฯลฯ
⇒ ผักชีหรือผักชีลา เป็นผักชีที่ใช้กว้างขวางที่สุด ตั้งแต่ใบซึ่งใช้เป็นผัก เช่น ผักชีน้ำปลาหวาน ปลาดุกย่าง อันขึ้นชื่อ นอกจากใช้เป็นผักแล้วใบผักชียังใช้แต่งกลิ่นอาหารไทยหลายตำรับด้วย เช่น ลาบหมู ก้อยเนื้อ ปูจ๋า หรือใช้โรยหน้าเพื่อแต่งกลิ่นเป็นผักพร้อมไปกับเพื่อความงดงามด้วย ซึ่งวิธีใช้ใบผักชีโรยหน้านี้เป็นที่นิยมในหมู่แม่ครัว (พ่อครัว) ชาวไทยมาก ถึงขนาดถูกนำไปใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบดังกล่าวข้างต้น อาหารที่นิยมใช้ผักชีโรยหน้ามีมากมายจนยกมาเป็นตัวอย่างได้ไม่รู้จักหมด เช่น ในหนังสือเรื่อง อาหารวิเศษของคนโบราณ ของ ประยูร อุลุชาฎะ มีตำรับอาหารที่ใช้ผักชีโรยหน้าถึงกว่ายี่สิบตำรับหรือกว่าครึ่งของตำรับอาหารทั้งหมดที่ปรากฏ ในหนังสือเล่มนั้นทีเดียว เช่น ปลาร้าทอด ไข่ลูกเขย ยำหนังหมู หลนต่างๆ ข้างคลุกกะปิ ข้าวผัด ต้มส้ม ฯลฯ ตำรับอาหารแซ่บของอีกสานก็นิยมใช้ผักชีโรยหน้าเหมือนกัน เข่น แหนมสด พล่ากุ้ง ยำหอยแมลงภู่ ซ่าหมู หมูย่างน้ำตก (ใส่น้ำจิ้ม) เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ปรุงอาหารไม่น้อยกว่าส่วนใบก็คือ รากของผักชี ซึ่งใช้ปรุงอาหารไทยมากมาย โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำพริกแกงหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ แกงฉู่ฉี่ แกงต้มส้ม แกงต้มปลาร้า แกงเขียวหวาน แกงจืด แกงหอง แกงเทโพ แกงร้อน นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบของทอดมันห่อหมก และน้ำพริกจิ้มอีกหลายตำรับ

อีกส่วนหนึ่งของผักชีที่ใช้ปรุงอาหารคือ เมล็ด หรือที่เรียกว่าลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศในแกงหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ แกงคั่ว แกงหมู ตะพาบน้ำ แกงฮังเล ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้ในข้าวหมกไก่ น้ำจิ้มเนื้อสะเต๊ะ ก๋วยเตี๋ยวแขก บาเยีย เป็นต้น

น่าสังเกตว่ามีแกงหลายอย่างที่ไม่ใช้ผักชี(ใบ,ราก,ผล) เป็นส่วนประกอบ เช่น แกงป่า แกงส้ม แกงเลียง แกวบวน แกงต้มเปอะ แกงเขียว แกงต้มจิ๋ว แกงอ่อม แกงแค แกงบอน แกงรวม แกงเอาะ แกงไตปลา แกงเหลือง แกงปลาต้มน้ำส้ม แกงปลาต้มเค็ม เป็นต้น แกงเหล่านี้ล้วนเป็นแกงดั้งเดิมของไทย หรือแพงประจำท้องถิ่น

มาแต่เดิม หรือแม้แต่แกงเผ็ดหรือแกงคั่ว บางตำรับก็ไม่ใส่ผักชี (ราก) แสดงว่าแต่เดิมแกงของชาวไทยแท้ๆ ไม่มีส่วนประกอบหรือเครื่องปรุงที่เป็นผักชีมาก่อน จนกระทั่งผักชีถูกนำมาปลูกในประเทศไทยแล้ว จึงมีแม่ครัว(พ่อครัว) นำมาเป็นเครื่องปรุงอาหารไทยอย่างหนึ่ง และกลายเป็นผักที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
 2.4ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักชี
              นอกเหนือจากใช้เป็นอาหารแล้ว ผักชีชนิดต่าง ๆ ยังใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ด้วย เช่น
   ผักชีล้อม มีผลที่ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ นิยมใช้ร่วมกับผลของผักชีลา ส่วนลำต้น ใบของผักชีล้อมใช้ต้นร่วมกับผักบุ้งร้วม เอาควันรมผู้ป่วยในกระโจมแก้โรคบวมทั้งตัว เหน็บชา ขับเหงื่อ แก้น้ำเหลืองเสีย คลื่นเหียน อาเจียน
   ผักชีลาว มีผลแห้งเรียกเทียนตาตั๊กแตน เป็นยาบำรุง แก้เสมหะ แก้กำเดา
   ผักชี (ผักชีลา) ผลใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นเหียน อาเจียน แก้ตาเจ็บ มักใช้ร่วมกับผลของผักชีล้อม
ในผลผักชีมีน้ำมันหอม สามารถกลั่นเป็นยาหอมใช้บำรุงธาตุ ขับลมในท้อง หรือผสมกับยาถ่าย แก้อาการข้างเคียงของยาถ่ายได้